- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พาหุรัด
- แบบศิลปะ :
- อยุธยาตอนต้น
- ชนิด :
- ทองคำประดับอัญมณี
- ขนาด :
- สูง 13.5 เซนติเมตร กว้าง 5.7 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- พุทธศตวรรษที่ 20
- ลักษณะ :
- พาหุรัด เป็นเครื่องประดับต้นแขนของบุรุษและสตรี สำหรับพาหุรัดองค์นี้เป็นของบุรุษหรือเจ้านายฝ่ายหน้า สำหรับสวมที่ต้นพระพาหา ทำด้วยทองคำทรงกระบอกประดับอัญมณีสีต่างๆ เป็นลายดอกไม้
- พาหุรัดนี้ เป็นหนึ่งในเครื่องราชภัณฑ์ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางวิชาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สร้างพระอารามขึ้น ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาผู้เป็นพระเชษฐา เมื่อพุทธศักราช 1967 เครื่องทองเหล่านี้จึงกำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 20 หรือเกือบ 600 ปีมาแล้ว
- ประวัติ :
- พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พุทธศักราช 2500
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)