ทับหลังสลักภาพตอนท้าวหิมวัตถวายนางปารวตี


- ชื่อโบราณวัตถุ :
- ทับหลังสลักภาพตอนท้าวหิมวัตถวายนางปารวตี
- แบบศิลปะ :
- ลพบุรี
- ชนิด :
- หิน หินทราย
- ขนาด :
- ยาว 125 เซนติเมตร สูง 93 เซนติเมตร หนา 34 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- พุทธศตวรรษที่ 16
- ลักษณะ :
- สลักภาพพระอินทร์ประทับในท่าลลิตาสนะ พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว อยู่ในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาลหรือเกียรติมุข หน้ากาลมีลักษณะเป็นสิงหมุขแลบลิ้นออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม คายพวงมาลัย และใช้มือทั้งสองข้างยึดพวงมาลัยไว้ส่วนพวงมาลัยด้านขวากลายเป็นสตรีประทับนั่ง ขวามือประคองอุ้มสตรีมือขวาถือดอกบัวมือซ้ายจับที่ท่อนพระบาทขวาของพระอินทร์ ส่วนทางด้านซ้ายท่อนพวงมาลัยกลายเป็นรูปสตรีถัดขึ้นไปเป็นรูปสตรีมือขวากุมพระหัตถ์ซ้ายพระอินทร์ ปลายซุ้มเรือนแก้วทำเป็นนาคมีมงกฎ ด้านบนทับหลังสลักเป็นพญานาค นาคส่วนหัวหันหน้าเข้าหากันทอดห่างยาวถึงปลายทั้งสองด้านเอาลำตัวของนาคเป็นเส้นแบ่งทับหลังให้เป็นตอนบนตอนล่าง นาคมีมงกฎติดกันเป็นแผ่นคล้ายเป็นรัศมีคายพวงอุบะมาจรดกันที่กึ่งกลางของทับหลัง บนต้นคอนาคมีครุฑซึ่งมีหางและปีกอยู่ข้างบน ที่ปลายหางนาคมีรูปบุคคลยกหางนาคไว้ทั้งสองด้าน
- สภาพ :
- เกือบสมบูรณ์ แตกออกเป็น 2 ชิ้นต่อกัน
- ประวัติ :
- พบในขณะขุดแต่งปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
