event 2018 01
 07 01 06 01 

ปรางค์ศรีเทพเป็นศาสนสถานแบบปราสาทในศิลปะขอม ตั้งอยู่ทางด้านหลังในแนวแกน เกี่ยวกับปรางค์สองพี่น้อง องค์ปรางค์ประธานเป็นปราสาทอิฐขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงซึ่ง ตั้งอยู่บนฐานที่ยกพื้นสูงขึ้นมาจากระดับผิวดินเพิ่ม (ฐานไพที) โดยการก่อศิลาแลงเป็นกรอบสี่เหลี่ยม จัตุรัสสูงขึ้นมาจากพื้นดินเดิมราว 1 เมตร แล้วถมอัดดินลงไปในกรอบศิลาแลงปรับระดับให้เรียบ เป็นลานกว้างรองรับปราสาท
            องค์ปรางค์ปราสาท ประกอบด้วยฐานศิลาแลงแบบฐานบัวลูกฟัก 2 ชั้น มีมุขทั้ง 4 ค้าน ส่วนเรือนธาตุและเครื่องบนก่อด้วยอิฐที่ฝนขัดจนเรียบสนิทและไม่สอปูน องค์ปรางค์หรือปราสาท มีความสูงเท่าที่เหลืออยู่ประมาณ 13 เมตร ไม่พบการก่อมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าปรางค์ พบเพียงร่องรอยหลุมเสากลมขนาดใหญ่จำนวน 5 หลุมเรียงอยู่ที่ฐานศิลาแลงชั้นล่างสุดบริเวณด้านหน้าทางขึ้นและพบชิ้นส่วนซากไม้เสียบยื่นออกมาจากองค์ปรางค์ด้านหน้า รวมทั้งพบกระเบื้องมุง หลังคาชนิดกระเบื้องโค้งหรือกระเบื้องกาบกล้วยที่เรียกว่ากาบูจำนวนมาก ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็น ถึงร่องรอยของหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องที่เคยคลุมอยู่บริเวณด้านหน้าปรางค์ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ลักษณะแผนผังของปรางค์ศรีเทพนี้เป็นสถาปัตยกรรมในช่วงสมัยบาปวนตอนปลายดังที่พบหลายแห่งในประเทศไทย อาทิเช่น ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์ และพระธาตุ นารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

 book 01
ภายในผนังเรือนธาตุของปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้องด้วยเช่นกัน มีลักษณะพิเศษ จากโบราณสถานแบบปรางค์ขอมในสมัยเดียวกัน คือมีการก่ออิฐเป็นซุ้มจระนำ ที่กึ่งกลางผนังทั้ง 3 ด้าน ซึ่งเป็นลักษณะที่พบเฉพาะในสถาปัตยกรรมเขมรโบราณและจามในระยะต้นเท่านั้น สถาปัตยกรรมเขมรสมัยพระนครหลวงไม่เคยทำซุ้มจระนำภายในเช่นนี้เลย
             ด้านหน้าของปรางค์ประธานทั้งด้านซ้ายและขวามีฐานอาคารศิลาแลงหลังเล็ก ๆ จำนวน 2 หลัง อาคารทั้งสองหลังนี้คงจะมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องเช่นเดียวกันเนื่องจากพบ ร่องรอยหลุมเสาบนฐานอาคาร
ด้านหน้าของโคปุระหรือประตูทางเข้า มีฐานอาคารและทางเดินยกพื้นรูปกากบาท ที่ ปลายสุดพบโกลนพญานาคแผ่พังพานตกอยู่ในบริเวณนั้น แต่เดิมคงจะเป็นเศียรของพญานาคปูนปั้น ที่มีโกลนศิลาแลงอยู่ภายในแผ่พังพานอยู่บริเวณปลาย 2 ข้างของทางเดินที่เรียกว่าสะพานนาค โคยมีลำตัวพญานาคทอดยาวเป็นราวสะพานตามความนิยมในศิลปะเขมร ด้านซ้ายของสะพานนาค มีทางเดินปูศิลาแลงสู่ฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ทอดยาวขนานกับสะพานนาค ถัดมาทางทิศ ตะวันออกใกล้กับฐานไพที่มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงอีก 1​​​ หลัง ขณะขุดค้นโบราณสถานได้พบประติมากรรมหินทรายรูปเทพชัมภละหรือกุเวรซึ่งเป็นเทพแห่งความมั่งคั่งอยู่ใกล้ๆ กับอาคารหลังนี้ ส่วนทางด้านหน้าโคปุระก็ได้พบประติมากรรมหินทรายเช่นเดียวกันเป็นประติมากรรมรูปทวารบาลซึ่งน่าจะเป็นทวารบาลคู่เดียวกันกับทวารบาลจากเมืองศรีเทพที่ปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งกำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 182 สันนิษฐานว่าปรางค์ศรีเทพน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะแบบ บาปวนต่อนครวัด เนื่องจากได้พบทับหลังที่สามารถกำหนดอายุได้ในช่วงสมัยดังกล่าว โดยมีจุด ประสงค์ในการสร้างเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู แต่ต่อมามีการเตรียมการก่อสร้างหรือซ่อมแซม ศาสนสถานแต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยพบโกลนหินรูปกลีบขนุนที่ใช้ประดับบนชั้นหลังคาปรางค์ถูกสลัก ทิ้งค้างไว้ใกล้ฐานปรางค์ โดยยังไม่ได้สลักภาพลงไป ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นถึงการพยายามซ่อม แปลงแก้ไขศาสนสถาน โดยปรับเปลี่ยนจากศาสนสถานในศาสนาฮินดูเป็นศาสนสถานในศาสนา พุทธแบบมหายาน ซึ่งเป็นความนิยมในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงต้นถึงกลาง พุทธศตวรรษที่ 18 แต่ยังไม่ทันสำเร็จ
05 0705 12

นอกจากโบราณสถานที่ปรากฏอยู่บนผิวดินแล้ว ในปีงบประมาณ พุทธศักราช 2544 ได้มีการ บูรณะปรางค์ศรีเทพ และมีการขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณโดยรอบฐานปรางค์เพื่อหาข้อมูล เพิ่มเติมในการบูรณะ ได้พบข้อมูลหลักฐานใหม่ที่ชี้ให้เห็นว่า ก่อนที่จะมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรม รุ่นหลังสุดดังที่ปรากฏในปัจจุบันนั้น ได้มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมรุ่นเก่ากว่ามาก่อนแล้วโคย สถาปัตยกรรมในรุ่นนั้นถูกสร้างซ้อนทับอยู่ข้างใต้อย่างน้อย 2-3 รุ่น โดยมีการใช้พื้นที่ในบริเวณ เดียวกันนี้ตั้งแต่ในช่วงที่ศรีเทพอยู่ภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดี
            ร่องรอยสิ่งก่อสร้างในพื้นที่เดียวกันนี้พบว่ามีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในห้วง เวลาหลายศตวรรษ ได้แก่ อาคารขนาดใหญ่ ฐานก่อด้วยศิลาแลง อยู่ในตำแหน่ง เดียวกันกับปรางค์ศรีเทพ ด้านหน้าอาคารหลังนี้มีฐานอาคารศิลาแลงผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลักษณะสอบแคบลงสู่ก้นบ่อ กรุด้วย ศิลาแลง ขนาดกว้างยาวด้านละ 6 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร และพบซากอาคารอื่นอีก หลายแห่ง
           ต่อมาได้รื้ออาคารและสร้างปรางค์ศรีเทพไว้แทนที่ โดยในระยะต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17) ได้มีการถมปรับพื้นที่โดยรอบปรางค์ศรีเทพให้สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร และปรับรูปแบบอาคาร ซึ่งอยู่ด้านหน้าปรางค์ศรีเทพ ให้เป็นอาคารที่มีปีก ยื่นออกทั้งทางด้านซ้ายและขวา มีการต่อเติมทางเดินด้านหน้าอาคารและต่อเติมขอบสระให้สูงขึ้นตามระดับดินที่ถมใหม่ รวมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร (อาจเป็นบรรณาลัย) หลังที่อยู่ทางทิศเหนือและหลังที่อยู่ทางทิศใต้
           ในระยะสุดท้ายได้ปรับปรุงอีกครั้งโดยถมดินสูงขึ้นอีกราว 30 เซนติเมตร กลบทับอาคาร ประกอบทั้งหลายที่อยู่ด้านหน้าองค์ปรางค์ประธาน รวมทั้งสระน้ำ แต่ยังคงเหลือเฉพาะอาคาร บรรณาลัยทั้ง 2 หลังที่ได้ก่อฐานใหม่ทับลงบนตำแหน่งเดิม และได้ก่อสร้างทางเดินเชื่อมต่อจาก ซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าทับอยู่บนอาคารเดิม ซึ่งเชื่อว่าการปรับปรุงครั้งหลังสุดนี้ น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนอาคารหลังนี้จากเทวสถานในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในคติพระพุทธศาสนา แบบมหายาน ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 18 ดังที่ได้พบหลักฐานหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงภายในเมืองศรีเทพในครั้งนั้น เช่น ชิ้นส่วนประคับสถาปัตยกรรมที่ยังคงทำไม่แล้วเสร็จ เป็นต้น”